ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | สง่า สรรพศรี |
ถัดไป | ไพจิตร เอื้อทวีกุล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน 2543 – 6 มกราคม 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
เลขาธิการพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | มนตรี พงษ์พานิช |
ถัดไป | พลโท เขษม ไกรสรรณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กันยายน พ.ศ. 2488 อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2522–2535) ชาติไทย (2538–2549) ไทยรักไทย (2549–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พัฒนวดี ศิริพานิชย์ (2513–2565) (เสียชีวิต) |
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดมหาสารคาม 8 สมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[1] และเป็นอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ปลอดประสพ สุรัสวดี)
ประวัติ
[แก้]ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม[2] เป็นบุตรคนที่สองของนายประจวบ กับนางหนูทอง ศิริพานิชย์ มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางพัฒนวดี ศิริพานิชย์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2513 มีบุตรธิดา 3 คน คือนายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ นางรชดาวัลย์ ศิริพานิชย์ และ นางสุรางค์ จันทรสถาพร
งานการเมือง
[แก้]นายประยุทธ์ เป็นสมาชิกสภาจังหวัดมหาสารคามหลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา และเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคกิจสังคม ในช่วงที่มีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[3] และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[5] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย
ในปี พ.ศ. 2553 นายประยุทธ์ ได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นายประยุทธ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบอันจะเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคได้[6]
ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ปลอดประสพ สุรัสวดี) ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 56[8]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 20[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 17[10] และได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้ 29 ที่นั่ง คือผู้สมัครของพรรคในลำดับที่ 1-29
การเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม
[แก้]ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาในฐานะรองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้เสนอให้มีการแก้ไขให้มีการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย หรือฉบับที่สื่อมวลชนเรียกว่า "นิรโทษกรรมสุดซอย" จนมีการคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ว่าเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[11]
ผลการกระทำของนายประยุทธ์ในครั้งนี้ลุกลามใหญ่โต เกิดความไม่พอใจของหลายฝ่าย ในที่สุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต้องประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 อย่างไรก็ตาม การจะโทษว่าเป็นความผิดของนายประยุทธ์ อาจไม่เป็นธรรม เนื่องจาก ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย ได้ก่อตัวสะสมมาอย่างยาวนาน "การเสนอแก้ไขนิรโทษกรรมสุดซอย" ดังกล่าว เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาให้ความขัดแย้งกระจายตัวและมีความรุนแรงขึ้นมากขึ้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ "กก.บริหาร พท.แห่ลาออก หวั่นถูกยุบพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-20. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประกาศ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566
- ↑ คม ชัด ลึก ออนไลน์ 'ปชป.'เป่านกหวีดชุมนุมค้าน'นิรโทษกรรม' เก็บถาวร 2013-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 1-11-2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอโกสุมพิสัย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.